วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556


   

                                 

                               

                                     จำหน่ายน้ำยาฟื้นฟูแบเตอรี่ Extenbatt
                     ฟื้นฟูแบตเตอรี่น้ำ-แบตเตอรี่แห้ง และแบตเตอรี่สำรองไฟ

           บริษัท บางกอกโพลี่ยู  จำกัด  จำหน่าย  น้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่ Extenbatt  จาก สหรัฐอเมริกา
ฟื้นฟูแบตเตอรี่เก่าด้วยตังท่านเอง  และ เพิ่มอายุใช้งานแบตเตอรี่ใหม่ให้มีอายุใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 1.5-2 ปี
ประหยัดเงินและไม่เกิดมลภาวะกับสิงแวดล้อม เหมาะสำหรับ ผู้ใช้รถยนต์ทั่วไป และ ผู้ประกอบการ
ขนส่ง รถกอฟล์ รถยกไฟฟ้า โซล่าร์เซล แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า

 ขนาด 120 cc สำหรับแบตเตอรี่ 25-90  แอมป์ ราคา  200 บาทต่อ1ขวด ( 1 ขวดเราก็ส่ง )
 ซื้อน้ำยา Extenbatt 1 ขวด แถม ชุดเครื่องมือ ไขควง  คัสเตอร์  กรรไกร


                                                               
                    การดูแลและถนอมแบตเตอรี่  แบตเตอรี่จัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ  มีราคาแพง  มีอายุการใช้งาน  ถ้าดูแลดีจะช่วยให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยืนยาว  และใช้แบตเตอรี่ได้คุ้มค่าที่สุด  ดังนี้

1 ตรวจน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ สัปดาห์
2 ดูแลขั้วแบตเตอรีให้สะอาดอยู่เสมอ  ให้ใช้น้ำร้อนหรืดผงฟูผสมน้ำ  ล้างขั้วแบตเตอรี่
3 ตรวจสะภาพแบตเตอรี่เสมอ  อย่าให้มีรอยแตกร้าว  เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่สามารถเก็บประจุไฟฟ้า    ได้
4 เมื่อซื้อแบตเตอรี่ใหม่ควรชาร์จไฟอย่างอ่อน  2 Amp อย่างน้อย 1 - 3 วัน
5 ปรับสภาพแบตเตอรี่เมื่อซื้อแบตเตอรี่ใหม่  โดยใส่น้ำยา Extenbatt  เพื่อที่จะไม่ให้ซัลเฟตเกาะที่แผ่น        ธาตุ

                    สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม
1 การประจุไฟน้อยเกินควร  Under charging  อาการและลักษณะที่เกิดขึ้น
   เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟยาก ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภาพ
2 การประจุไฟที่มากเกินควร  Over charging  อาการและลักษณะที่เกิดขึ้น
   น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมาทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง  อุณหภูมิจะสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม
   ทำให้ตะกั่วเกิดการสึกกร่อนจากแผ่นธาตุ  แผ่นธาตุโค้งงอ  ลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
3 การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่  Short circuit  อาการ  และลักษณะที่เกิดขึ้น  เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่าง
   ของแบตเตอรี่มากเกินไป  เกิดจากการแตกหักหรือเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก  และ
   แผ่นธาตุลบ
4 ปัญหาระบบไฟในรถยนต์  อาการและลักษณะที่เกิดขึ้น
   การติดเครื่องเสียง  และสัญญาณกันขโมย  อุปกรณ์เสริมในรถยนต์เติม (ไฟไม่พอ)  การเปลี่ยนแปลง
   ขนาดของแบตเตอรี่  การลัดวงจรของสวิทซ์ต่างๆ ในรถยนต์  ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่
   เต็มที่
5 การเกิดซัลเฟต  (Sulfation) แผ่นธาตุที่มีผลึกสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุเกิดจาก
   ปล่อยแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่ได้ใช้  การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under charging)  แผ่นธาตุโผล่พ้น
   ระดับน้ำกรด

                   ข้อสังเกตุเมื่อแบตเตอรี่เสื่อม
1 เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
2 ไฟหน้ารถยนต์ไม่ค่อยสว่าง
3 ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ทำงานได้ช้าลง
4 ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ทำงานผิดปรกติ

                    สามารถแบ่งการยืดอายุแบตเตอรี่ออกเป็น 2 ช่วง
1 การปรับสภาพแบตเตอรี่  ( Recondition Battery )
2 การฟื้นฟูแบตเตอรี่  (Restore Battery )
                    การปรับสภาพแบตเตอรี่  ( Recondition Battery ) คือการปรับสภาพภายในแบตเตอรี่ ปรับค่า
ความถ่วงเฉพาะของกรด  ปรับลดซัลเฟตที่เกาะที่แผ่นธาตุโดยใช้น้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่  Extenbatt  ผลที่ได้เมื่อทำการปรับสภาพแบตเตอรี่นั้น  การเก็บประจุและคายประจุของแบตเตอรี่  จะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ใหม่  อีกทั้งเป็นการยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้ยืนยาวได้  4-5 ปี  ขั้นตอนการปรับสภาพแบตเตอรี่ไม่ยุ่งยากนัก  แต่ได้ผลดีในการยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
                    การฟื้นฟูแบตเตอรี่  (Restore Battery )  คือ การนำแบตเตอรี่ที่เสื่อมแล้วไม่สามารถเก็บไฟฟ้าได้เข้ามาขบวนการฟื้นฟูแบตเตอรี่  เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้งหนึ่ง  ประสิทธิภาพ ที่ได้มา  ควรได้ประมาณ  70-85%  เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ใหม่



                    แบตเตอรี่ที่เสื่อมแล้วก่อนนำมาปรับสภาพและฟื้นฟูแบตเตอรี่  ดูได้จากการวัดค่าต่างๆ  ดังนี้
1 วัดค่าน้ำกรด  ถ้าต่ำกว่า  1.230 ถือว่าแบตเตอรี่เสื่อม  (ค่ามาตรฐาน  1.250-1.280 ) โดยใช้ Hydrometer
   เป็นเครื่องมือวัดค่าความถ่วงเฉพาะ  (Specific gravity)  หรือค่าความหนาแน่น  (Density) ของของเหลว
   โดยอาศัยหลักการลอยตัวของวัตถุ  ( Buoyant force )  ถ้าใช้  Hydrometer  วัดค่าความถ่วงเฉพาะของ
   กรด  ซึ่งอ่านค่าได้  1.250  แสดงว่าปริมาณไฟฟ้าเต็ม 100%  อ่านค่าได้  1.230  ปริมาณไฟฟ้า  75%
   อ่านได้  1.220  ปริมาณไฟฟ้า  50%  ต้องไปชาร์จไฟใหม่  หรือนำไปฟื้นฟูแบตเตอรี่  โดยใส่น้ำยา  
   Extenbatt  ซึ่งจะสามารถปรับความถ่วงเฉพาะของกรดได้
2 วัดค่าแบตเตอรี่ด้วยเครื่องวิเคราะห์แบตเตอรี่  ( Digital battery analysis ) ใช้วิเคราะห์แบตเตอรี่เพื่อให้
   ทราบว่าแบตเตอรี่เสื่อมหรือไม่  จะได้นำไปฟื้นฟูแบตเตอรี่  ตามขั้นตอนฟื้นฟูแบตเตอรี่  ดังนี้
   ๐ ค่า  CCA  ( Cold cranking amp ) คือค่ากระแสไฟสูงสุดที่แบตเตอรี่ลูกนั้น ๆ  สามารถจ่ายกระแส
   ออกมาได้ในช่วงที่มีการสตาร์ทรถยนต์  ช่วงสั้น ๆ 5-10  วินาที ซึ่งค่า  CCA  ของแบตเตอรี่แต่ละรุ่น
   นั้นมีค่ามาตราฐานที่ต่างกัน  แต่ทุกยี่ห้อจะต้องมีค่าไฟไม่ต่ำกว่าค่ามาตราฐานที่กำหนดไว้ตามระบบ
   สากล  เช่น  แบตเตอรี่รถปิกอัพขนาด  70 Amp หรือ ท้องตลาดเรียกรุ่น  70Z  นั้นตามระบบสากลเรียก
   รุ่น  75D 31  ซึ่งมีค่ามาตราฐาน  CCA  ต้องไม่ต่ำกว่า  440  ( ค่า  CCA = CC X 0.13 )  CC  คือ
   ปริมาณความจุกระบอกสูบ  เข่น รถยนต์  1600 cc  ต้องใช้ค่า  CCA = CC X 0.13  คือ  208  หรือมาก
   กว่า  รถจึงสตาร์ทติดได้  แต่การเลือกแบตเตอรี่ควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีค่า CCA สูงกว่า ที่คำนวณไว้
   10-20%  คังนั้นควรเลือกซือแบตเตอรี่ที่มีค่า  CCA  = 250-300  จึงจะเหมาะสม  ถ้าเราวัดค่า  CCA
   ได้ต่ำกว่าค่ามาตราฐาน  20%  เครื่องจะเตือนว่า  ควรฟื้นฟูแบตเตอรี่ใด้แล้ว  มิฉนั้นท่านจะพบเหตุ
   แบตเตอรี่หมดได้วันไดวันหนึ่ง  ดังนั้นจะเห็นว่า  ค่า โวลต์  หรือ ค่าความถ่วงเฉพาะของน้ำกรดนั้น  มิ
   ได้เป็ตัวบ่งว่าแบตเตอรี่ลูกนั้นจะใช้งานได้หรือไม่เสมอไป  เพราะมีหลายท่านอาจพบว่า  นำแบตเตอรี่
   ไปชาร์จจนโวลต์เต็ม  ขนาด  12.6-12.8  โวลต์แล้ว  แต่ก็ยังไม่สามารถสตาร์ทรถติดได้  นั้นก็เพราะ
   แผ่นธาตุเสื่อม  ( อาจมีซัลเฟตเกาะมาก )  ไม่สามารถสร้างกระแสไฟได้
   ๐ ค่าโวลต์ ( V )  ใช้วัดพลังงานแบตเตอรี่รถยนต์ว่าเหลือเท่าไร  เหมาะสมกับรถที่ติดเครื่องเสียง
   หรือ รถยนต์ทั่วไป  เพื่อบอกสถานะไฟในแบตเตอรี่  ทำให้ไม่ต้องเสี่ยงที่จะต้องเข็นรถเนื่องจากสตาร์ท
   ไม่ติด  ขณะที่ดับเครื่องยนต์  ค่าโวลต์ควรอยูประมาณ  12.0 - 12.8  โวลต์  แต่ถ้าต่ำกว่า  12  โวลต์
   ถือว่าผิดปรกติ  อาจมีสาเหตุมาจากแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม  วิธีตรวจสอบว่าแบตเตอรี่เสื่อมหรือไม่
   ทดสอบได้โดยหลังจากขับรถปรกติมาจอด  และดับเครื่อง  ประมาณ  1 นาที  ค่าที่อ่านจากมิเตอร์
   ต้องมีค่าระหว่าง  12.0 - 12.8  โวลต์  หลังจากจอดไว้  4 - 6  ชั่วโมง  หรือข้ามวันค่าที่อ่านได้  ต้อง
   ประมาณ  12.0 - 12.8  โวลต์  เท่าเดิมถือว่าปรกติ  แต่ถ้ามีค่าโวลต์ต่ำกว่านี้มาก ๆ เช่น  11.5 - 11.9
   โวลต์  แบตเตอรี่เริ่มเก็บไฟฟ้าไม่อยู่  แต่ยังพอไหว  แต่ถ้าต่ำกว่า  11.5  โวลต์  ลงไปถือว่าแบตเตอรี่
   เสื่อม  เพราะถ้าจอดทิ้งไว้  2  วัน  อาจสตาร์ทไม่ติด  ( ถ้าแบตเตอรี่ยังใหม่อยู่ก็อาจเกิดจากมีกระแส
   ไฟฟ้ารั่วลงกราวด์  แนะนำให้ช่างไฟฟ้ารถยนต์ตรวจสอบ )
   ๐ ค่า  ( Reserve capacity ) มีหน่วยเป็นนาที  คือกำลังไฟฟ้าสำรองที่แบตเตอรี่จ่ายออกมาได้  โดยที่
   ระบบไฟชาร์จไม่ได้ทำงาน  โดยวัดการดึงกระแสไฟฟ้าคงที่ ที่  25 Amp  ที่อุณหภูมิ  26.7  องศา
   จนกระทั่งแรงดันไฟฟ้า  ที่ขั้วแบตเตอรี่ลดลงถึงระดับต่ำกว่า  10.5 โวลต์ เช่นแบตเตอรี่มีค่า  RC=100
   ก็ต้องสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้  100  นาที ที่กระแสโหลด  25 Amp ก่อนที่แรงดันจะตกลงมาต่ำ
   กว่า  10.5 โวลต์
   ๐ ค่า  A-H ( Ampere - Hour )  หรือแอมป์ที่เราเห็นบ่อย ๆ มีหน่วยเป็น  แอมป์ - ชั่วโมง  คือค่าที่
   แบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็ม  100%  ที่อุณหภูมิ  26.7  องศาเซลเซียส  จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าคงที่ออก      มาในระยะเวลา  20 ชั่วโมง  ก่อนที่แรงดันไฟฟ้าที่ขั้วของแบตเตอรี่จะลดลงถึงระดับต่ำกว่า  10.5 โวลต์
   เช่น แบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายไฟฟ้า เป็นเวลา  20 ชั่วโมง โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าคงที่ที่ 4 แอมป์ ก่อนที่
  แรงดันลดลงถึงระดับต่ำกว่า  10.5  โวลต์  ก็คือแบตเตอรี่ขนาด  80 แอมป์ - ชั่วโมง ( 20 x 4 =80 )
   หากจ่ายได้นานกว่าเช่น  25 ชั่วโมงก็  100 Amp
                    การฟื้นฟูแบตเตอรี่ให้สำเร็จจะต้องปรับค่า ให้สูงขึ้นหรือดีขึ้น ดังนี้
1 สลายซัลเฟต ด้วยน้ำยา Extenbatt
2 ปรับค่า  CCA ให้สูงกว่ามาตราฐาน
3 ปรับค่าความถ่วงเฉพาะของน้ำกรดให้อยู่ที่  1.250 - 1.280
4 ปรับค่า  A-H ให้สูงขึ้น 70-80% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ใหม่







                  ฟื้นฟูแบตเตอรี่ด้วยน้ำยา  Extenbatt
                    เมื่อเราวิเคราะห์ค่าต่าง ๆ ได้แล้ว  ถ้าอ่านค่าแล้วแสดงว่าแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมแล้ว  เราจะต้อง
นำมาปรับสภาพแบตเตอรี่  แต่ถ้าค่าที่ได้แสดงว่าแบตเตอรี่เสื่อมแล้วเราจะต้องนำแบตเตอรี่มาฟื้นฟู
ปฎิกริยาเคมีที่เกิดจากการเติมน้ำยาฟื้นฟูลงไปทุกช่องของแบตเตอรี่  จะทำการสลายซัลเฟต  และ
สามารถเพิ่มค่าความถ่วงเฉพาะของกรด  ดังปฎิกริยาต่อไปนี้


Pb (s)  +  Pb (s)  +  2H2SO4 (aq) ----------->  2PbSO4 (s)  +  2H2O (l)

จะเห็นว่าเกิดตะกั่วซัลเฟต (PbSO4)  คือเกิด  ซัลเฟต (SO4) เกาะที่แผ่นตะกั่ว (Pb)
เมื่อใส่น้ำยา  Extenbatt  ลงไปในแบตเตอรี่แล้วเกิดปฎิกริยาดังนี้

PbSO4  +  2H2O (l)  +  INOR  ------------------->  PbO2 (s)  +  HSO4-  +  HSO4 (aq)  + 3H(aq)+2e

INOR  =  น้ำยา Extenbatt
PbSO4  =  ตะกั่วซัลเฟต
็H2O  =  น้ำกลั่น
็H2SO4  =  กรดซัลฟูริก
Pb  =  แผ่นตะกั่ว

ผลึกซัลเฟต


                    การปฎิบัติการฟื้นฟูแบตเตอรี่  ที่เสื่อมแล้ว  เมื่อเราวัดค่าต่าง ๆ ได้แล้ว  จะนำมาวิเคราะห์ว่า
แบตเตอรี่นั้นเสื่อมมากหรือเสื่อมน้อย  เช่น  วิเคราะห์แบตเตอรี่ที่เสื่อมแล้ว  ( แบตเตอรี่  12 โวลต์ )
จากค่าที่ดูและวัดได้ดังนี้  แบตเตอรี่ที่่ใช้งานได้  1 ปีครึ่ง  ค่าโวลต์  11.6  มีซัลเฟตไม่มาก  ไม่ช็อต  หม้อ
แบตเตอรี่ยังดีอยู่  เมื่อเราวิเคราะห์แล้วถือว่าแบตเตอรี่ไม่เสื่อมมาก  เรานำมาฟื้นฟูด้วยวิธีที่ 1 ได้
                 
 การฟื้นฟูแบตเตอรี่  ตะกั่ว - กรด  ด้วยน้ำยา  Extenbatt
 Extenbatt  restore  sulfate  lead  acid  batters

การฟื้นฟูแบตเตอรี่ที่เสื่อมแล้ว  ด้วยน้ำยา  Extenbatt  ใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้
๐ น้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่  Extenbatt
๐ น้ำยาล้างแผ่นธาตุ  Battclean
๐ ไฮโดรมิเตอร์  Hydrometer
๐ กรดซัลฟูริก  Sulfuric  acid
๐ น้ำกลั่น  Distilled water
๐ ผงฟู  Sodium  carbonate

ขั้นตอนและวิธีฟื้นฟูแบตเตอรี่  ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งหนึ่ง
วิธีที่ 1  ใช้กับแบตเตอรี่ที่  มีซัลเฟตเกาะที่แผ่นธาตุน้อย
๐ นำน้ำยาฟื้นฟู  Extenbatt  หยดลงในแบตเตอรี่ทุกช่องเท่า ๆ กัน
๐ ชาร์จไฟอย่างอ่อน  อย่างน้อย  24  ชั่วโมง

วิธีที่ 2 ใช้กับแบตเตอรี่ที่  มีซัลเฟตเกาะที่แผ่นธาตุมาก
๐ วัดค่าโวลต์ ถ้า  V  ต่ำกว่า  11.5  ให้นำแบตเตอรี่มาฟื้นฟู
๐ เทน้ำกรดเก่าออกทิ้งให้หมด  แล้วเก็บไว้ในภาชนะที่ปลอดภัย
๐ เติมน้ำกลั่นลงมาในแบตเตอรี่  แล้วเขย่าอย่างระมัดระวัง  เทน้ำที่มีสิ่งสกปรกออกทิ้ง
๐ เติมน้ำยาล้างแผ่นธาตุ  Battclean  ลงในแบตเตอรี่  แล้วทิ้งไว้  24  ชั่วโมง (ผสมน้ำ 25%-50%)
๐ เทสารละลายออกทิ้งให้หมด
๐ ล้างแบตเตอรี่ด้วยน้ำกลั่น  แล้วเทออกทิ้ง  (สามารถทำซ้ำได้อีก)
๐เติมกรดเก่าที่เก็บไว้  และน้ำยาฟื้นฟู  Extenbatt  ลงในแบตเตอรี่
๐ ชาร์จไฟอย่างอ่อน  อย่างน้อย  1 - 3 วัน ให้โวลต์ ขึ้นถึง  12
๐ ใช้ไฮโดรมิเตอร์วัดความถ่วงเฉพาะของกรดแล้ว  ปรับค่ากรด ให้ได้ ถ.พ. 1.250-1.280

หมายเหตุ  ถ้าทำวิธีที่  1  ไม่ได้ผลให้เก็บสารละลายเก่าไว้  แล้วทำตามวิธีที่ 2 จากนั้นเอาสารละลายเก่าที่เติมน้ำยา Extenbatt ลงไปในแบตเตอรี่โดยไม่ต้องเติมน้ำยา Extenbatt  ซ้ำอีก
การบำบัดน้ำเสีย  ที่ทิ้งออกจากแบตเตอรี่โดยขบวนการฟื้นฟูแบตเตอรี่  โดยใช้ผงฟื้นฟู  3 ช้อนโต๊ะ
ผสมน้ำปะปา  1-2 ลิตร  แล้วนำไปผสมกับสารละลายจากแบตเตอรี่ที่จะทิ้งเพื่อบำบัดน้ำให้มีสภาพที่ไม่อันตรายกับสิ่งแวดล้อม  ก่อนที่จะทิ้งสารละลายนั้น

                   There are two method for replacing the lead sulfate form electrode surface.
Method 1
1 Fill the battery with Extenbatt and shake carefully.
2 Chang the battery  24 hour.
Method 2
1 Measure the battery voltage, If it lower than 11.50 (for 12 V system), restore the battery will probably be impossible.
2 Pour out all acid form the battery (use protective glasses and glows), the acid should be stored on a safe place.
3 Fill the battery with distill water and shake carefully. (with asking motion in the case of bigger batteries and pour out the water) with respect to the amount of impurities it will be necessary to respect this step more times)
4 Fill the battery with Plate cleaning and leave it sit one day.
5 The solution should look milky when your it out into another bucket.
6 You can repeat this step.
7 Rinse the battery more times with distilled water and put back the old acid and/or distilled water.

Wast water treatment : 
Add solution made form of tap water and one big spoon of sodium carbonate into one lite of waste form batter cleaning, stir well and leave it sediment for hour or days. Clean water can be poured out in the safe distance form water sources and/or playground for children and the sediment is to be sent to special toxic waste collection place.If this is not present it necessary to create it with the help of local authorities also for destroyed batteries and other damage waste material.    



                    การฟื้นฟูแบตเตอรี่  UPS ซึ่งภายในเครื่อง  UPS จะมีแบตเตอรี่แห้ง  บรรจุอยู่  ให้แกะกล่อง UPS  เอาแบตเตอรี่ออกมา  จะเห็นว่าแบตเตอรี่ไม่มีช่องใสของเหลว  แต่ที่จริงแล้วมีช่องใส่ของเหลว
ซ่อนอยู่ภายใน  ให้ใช้ไขควงแกะพลาสติกที่หุ้มออกมา  แล้วจะเห็นช่องเติมของเหลว  เราจะนำแบตเตอรี่ มาฟื้นฟู ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1 ให้นำเอาแบตเตอรี่ออกมาจากเครื่อง  UPS
2 ให้ใช้ไขควงแกะพลาสติกที่หุ้ม UPS ออก
3 เราจะเห็นช่องเติมของเหลว  ให้แกะฝายางออก  แล้วเติมน้ำยา  Extenbatt  (ต้องการประหยัด ให้ผสมน้ำกลั่นได้ครึ่งลิตร)  ใส่น้ำยาให้ครบทุกช่อง
5 นำไปชาร์จไฟอย่างอ่อน  10-24 ชั่วโมง
6 ผลที่ได้  แบตเตอรี่  UPS จะสามารถเก็บไฟได้ถึง  70-80% เมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ใหม่



SPECIFICATION
Appearance                                                                    Liquid
Product Name                                                                Extenbatt
Molecula Weight                                                             246.47 g/mol
 Density                                                                          1.20-1.28
Solubility                                                                        Soluble in water
Purity                                                                             99% min
Sulfur as (SO4)                                                               38.60% min
Sulfur as (S)                                                                    12.70% min
PH                                                                                  7
Chloride as (Cl) w/w                                                         0.012% max
Heavy Metal as (Pb)                                                         Not Detectable
Arsenic as (As)                                                               1 ppm max
Iron as (Fe)                                                                     10 ppm max

                                                                  

คำถามที่ถามบ่อย
ถาม     น้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่  สามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้จริงหรืดไม่
ตอบ     สามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้จริง  เพราะน้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่จะทำให้เกิดปฎิกริยา
            เคมี  (ใช้การชาร์จไฟกระตุ้นการเกิดปฎิกริยาเคมี) ระหว่างน้ำยากับซัลเฟต  ทำให้สลายซัลเฟต
            ที่เกาะบนแผ่นธาตุ  แล้วจะทำให้กระแสไฟฟ้่าสามารถไหลผ่านแผ่นธาตุได้  และนำกระแส
            ไฟออกมาใช้งานได้
ถาม     น้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่  ใช้ได้กับแบตเตอรี่ทุกชนิดหรือไม่
ตอบ     ใช้ได้ผลดีเฉพาะ  ตะกั่ว-กรด  แบตเตอรี่
ถาม     น้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่ทำอันตรานต่อแบตเตอรี่หรือไม่
ตอบ     น้ำยาฟื้นฟูแบตเตอรี่ไม่ใช่กรด  และไม่เป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่
ถาม     ใส่น้ำยาลงในแบตเตอรี่ครั้งเดียวใช่ไหม
ตอบ     ใช่ครับ
ถาม     น้ำยาใช้กับ  deep clycle battery และ แบตเตอรี่แห้งได้ไหม
ตอบ     ใช้ได้ครับ  สำหรับแบตเตอรี่แห้งต้องแกะพลาสติที่ผนึกด้านบนออกก่กน  แล้วจึงเติมน้ำยา
ถาม     มีแจกคู่มือการยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยละเอียดหรือไม่
ตอบ     ซื้อสินค้า  5 ขวดแจกฟรี  มีขาย 60 บาทต่อเล่ม  30 หน้า A4
ถาม      หลังใส่น้ำยาแล้วใช้เวลาชาร์ทนานเท่าไร
ตอบ     ใช้เวลาชาร์จ 1-3 วัน ให้โวลต์ ขึ้นเกน 12 v
ถาม     ทำไมอายุการใช้งานของแบตเตอรี่จึงแตกต่างกัน
ตอบ     มีข้อสำคัญที่แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานไม่เท่ากัน คือ การดูแลแบตเตอรี่ ถ้าดูแลแบตเตอรี่ดีอายุ
             การใช้งานจะยาวขึ้น เช่น การใส่น้ำยาฟื้นฟูลงในแบตเตอรี่แต่เนิ่น ๆ สิ่งที่คำนึงถึงอีกอย่างหนึ่ง
             คือ การเลือกซื้อแบตเตอรี่ที่มีค่า  CCA ที่สูงกว่ามาตราฐาน  10-20%  และเลือกยี่ห้อของ
             แบตเตอรี่ที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง


ราชาแบตเตอรี่

บริษัท บางกอกโพลียู จำกัด
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  3-0343-9303-2
โทร : 0894464654 IN LINE : EXTENBATT
Rachabattery@gmail.com
www.bangkok-polyu.blogspot.com
www.facebook.com/extenbatt